วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การทำงานของ BlueTEC (SCR) ในรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล


หลังจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงดีเซลในห้องเผาไหม้แล้ว จะเกิดไอเสียซึ่งประกอบด้วย คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ไฮโดรคาร์บอน (HC), ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx)และเขม่าคาร์บอน ซึ่งแก๊สไอเสียจะถูกกรองด้วย Oxidation Catalytic Converter, Diesel Particulate Filter (DPF) และ SCR Catalytic Converter โดยส่วนที่เป็น Oxidation Catalytic Converter, Diesel Particulate Filter (DPF) จะทำงานเหมือนกับในระบบ BlueTEC (NSK)

เมื่อไม่มี NOx Storage Catalytic Converter (NSK) แล้ว ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ที่เกิดจากการเผาไหม้จะถูกดักจับที่ SCR Catalytic Converter ด้วยน้ำยา AdBlueR ในปริมาณ 3-5% ของปริมาณการใช้เชื้อเพลิง โดยกล่องควบคุมในรถยนต์อาจจะสั่งให้ฉีดมากขึ้นได้ตามอุณหภูมิการใช้งานและความเร็วรถ
น้ำยา AdBlueR จะถูกฉีดในตำแหน่งที่ถัดจาก Diesel Particulate Filter (DPF) ด้วยวาล์ววัด AdBlueR (AdBlueR metering valve) ซึ่งน้ำยา AdBlueR จะผสมกับแก๊สไอเสียตามเส้นทางจากวาล์ววัด AdBlueR (AdBlueR metering valve) จนถึง SCR Catalytic Converter

ใน SCR Catalytic Converter ก็ยังคงมีแอมโมเนีย (NH3) เพื่อเปลี่ยน ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ให้เป็นแก๊สไนโตรเจน (N2) และน้ำ (H2O) อย่างไรก็ตามแอมโมเนีย (NH3)ที่เก็บไว้ใน SCR Catalytic Converter ไม่ได้ถูกใช้ทันที แต่จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อเป็นช่วงที่น้ำยา AdBlueR  หยุดฉีด (น้ำยา AdBlueR จะฉีดออกมาในช่วงสั้นๆ จากนั้นก็จะหยุดลง เพื่อให้เกิดการทำปฏิกิริยาได้ทุกหยด)

1 ความคิดเห็น:

ในประเทศไทย รงผลิตน้ำยาADBLUE คือ DASBLUE ที่ได้รับการรับรองจากVDAแห่งแรกตามISO22241

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...