วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ระบบการตั้งชื่อรุ่นในรถเมอร์ซิเดส-เบนซ์

ก่อนปี 1994 เมอร์ซิเดส-เบนซ์ใช้ระบบอักษรในการจำแนกรถ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขที่บ่งบอกถึงความจุกระสอบสูบโดยประมาณ(หน่วยเป็นลิตร) แล้วคูณด้วย 100 จากนั้นตามด้วยอักษรต่อท้ายที่บอกถึงลักษณะตัวถังและชนิดเครื่อง เช่น
   
      
          “C” บ่งบอกว่าเป็นรถที่มีตัวถังแบบ coupe หรือ รถเปิดประทุน (Cabriolet)
          “D” หมายถึง รถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
          “E” (ย่อมาจาก “Einspritzen”-ระบบฉีด) หมายถึง รถที่มีระบบฉีดน้ำมันเบนซิน
หมายเหตุ : ถ้าไม่มีอักษร “D” หรือ “E” จะหมายถึงเครื่องยนต์เบนซินที่ใช้คาร์บูเรเตอร์
          “G” (ย่อมาจาก “Geländewagen”) หมายถึง รถประเภท off-road
          “K” (ย่อมาจาก “Kompressor”) หมายถึง เครื่องยนต์ที่ติดอุปกรณ์ supercharger ที่ใช้เคยนำมาใช้ในทศวรรษที่ 30 มาแล้ว ยกเว้น รุ่น SSK ที่ “K” จะมาจาก “Kurz” ที่แปลว่า ฐานล้อแคบ
          “L” มี 2 ความหมาย ความหมายแรกย่อมาจาก “Leicht” ที่แปลว่า น้ำหนักเบา ใช้สำหรับรถแนวสปอร์ต และความหมายที่ 2 ย่อมาจาก “Lang” ที่แปลว่า ฐานล้อกว้าง ใช้สำหรับรถซีดาน
          “R” (ย่อมาจาก “Rennen”) ใช้สำหรับรถแข่ง เช่น 300SLR
          “S” (ย่อมาจาก “Sonderklasse”) ใช้สำหรับ รถระดับผู้นำ ผู้บริหาร
          “T” (ย่อมาจาก “Touring”) ใช้บ่งบอกลักษณะตัวถังยาว ได้แก่ แบบ estate หรือ station wagon

บางรุ่นในทศวรรษที่ 50 จะเพิ่มอักษรพิมพ์เล็ก (b, c และ d) เพื่อใช้ระบุอุปกรณ์เพิ่มเติมในรถนั้นๆ นอกจากนี้ในบางรุ่น ส่วนที่เป็นตัวเลขในชื่อรุ่นรถก็ไม่ได้สอดคล้องกับความจุของกระบอกสูบเสียเลย แต่กลับบอกถึงลำดับของการผลิตหรือตำแหน่งใน price matrix ยกตัวอย่างเช่น รุ่น 190E ซึ่งตัวเลข 190 ไม่ได้บอกถึงความจุของกระบอกสูบ แต่บอกถึงตำแหน่งสถานะของรุ่นนี้ในการเข้าสู่ตลาด และบางรุ่นที่เก่ากว่า (เช่น SS และ SSK) ก็ไม่มีระบบตัวเลขระบุอยู่ในชื่อรุ่นเช่นกัน

ต่อมาในปี 1994 เมอร์ซิเดส-เบนซ์ได้จัดระบบการเรียกชื่อใหม่ รุ่นทั้งหมดจะแบ่งออกเป็น Class ซึ่งใช้อักษรไม่เกิน 3 ตัว แล้วตามด้วยตัวเลข 3 หลัก (ใช้ตัวเลข 2 หลักสำหรับรุ่น AMG โดยตัวเลขจะบอกถึงความจุของกระบอกสูบหน่วยเป็นลิตรแล้วคูณด้วย 10) ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดของเครื่องยนต์ ถึงแม้ว่าเป็นรุ่นเดียวกันแต่มีลักษณะต่างกัน (เช่น ระหว่างลักษณะแบบ station wagon กับรถที่ใช้เครื่องยนต์แบบดีเซล) ก็จะใช้อักษรเดียวกัน อย่างไรก็ตามในหลายๆรุ่นยังคงไม่มีตัวเลขต่อท้ายอยู่เช่น รุ่น SLR และ SLS
ในบางรุ่นที่มีตัวเลขต่อท้าย ก็ไม่ได้บอกถึงความจุของกระบอกสูบจริงๆ แต่บอกเป็นประสิทธิภาพในรุ่นนั้นๆแทน เช่น E 250 CGI จะมีประสิทธิภาพที่มากกว่า E200 CGI เพราะการจูนเครื่องที่แตกต่างกัน ทั้งๆที่ทั้ง 2 รุ่นนี้ใช้เครื่องขนาด 1.8 ลิตรเท่ากัน และเร็วๆนี้ รถรุ่น AMG ได้ใช้เลขรุ่น 63 ตามเครื่อง M100 ขนาด 6.3 ลิตรในทศวรรษที่ 60 แต่จริงๆแล้วรุ่นนี้ใช้เครื่องขนาด 6.2 ลิตร (M156) หรือ 5.5 ลิตร (M157)แทน
          รายละเอียดเพิ่มเติมต่างๆจะมีการระบุเพิ่มเติมอีกดังนี้
·       4 MATIC หมายถึง รถที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนทุกล้อ
·       Blue TEC บอกถึง เครื่องยนต์ดีเซลที่มีระบบ SCR (Selective Catalytic Reductive) ที่ท่อไอเสีย เพื่อลดมลพิษ
·       Blue EFFICIENCY บอกถึงการทำงานเพื่อประหยัดน้ำมันที่สุด (Direct Injection, start-stop system, การปรับปรุงรูปทรงตามหลัก Aerodynamic ฯลฯ)
·       CGI (Charged Gasoline Injection) บอกถึง ระบบฉีดน้ำมันเบนซินโดยตรง
·       CDI (Common-rail Direct Injection) บอกถึง เครื่องยนต์ดีเซลระบบ Common-rail
·       Hybrid บอกว่า เครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซลที่ทำงานร่วมกับระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
·       NGT บอกถึง เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (ในที่นี้หมายถึง ก๊าซ CNG)
·       Kompressor บอกว่า เครื่องยนต์นี้ทำงานร่วมกับระบบ supercharger
·       Turbo บอกว่า เครื่องยนต์นี้ทำงานร่วมกับระบบ Turbo ซึ่งมีเฉพาะรุ่น A, B, E และ GLK  class

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...